เสือ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
Jack วังทอง | |||||||||||||||
โดย
|
JackWangThong | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
เครื่องราง | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เสือ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
เสือ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ประวัติ(โดยย่อ) หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน(วัดบางเหี้ย) หลวงพ่อปาน ท่านเป็นชาวบางบ่อ ท่านเกิดที่ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2368 บิดามีเชื้อจีน มารดาเป็นคนไทยชื่อ ตาล อาชีพทำป่าจาก ครอบครัวของท่านอยู่ที่หมู่บ้านโคกเศรษฐี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 เมื่อตอนเป็นเด็ก บิดามารดาได้นำไปฝากไว้กับท่านเจ้าคุณศรีสากยะบุตร เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) เพื่อให้เรียนหนังสือไทย ต่อมาไม่นานเจ้าคุณได้ให้บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี อายุครบบวช ท่านก็ได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่ วัดอรุณราชวรารามนั่นเอง ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดบางเหี้ยนอก ปัจจุบัน เรียกว่าวัดมงคลโคธาวาส โดยมีพระที่เป็นสหายสนิทตามมาด้วยองค์หนึ่งชื่อ หลวงพ่อเรือน หลังออกพรรษาท่านและพระเรือนเริ่มออกธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆ (ป่าเขา) พรรษาต่อๆ มาเริ่มมากขึ้นจนกระทั่งออกธุดงค์ครั้งละเป็นร้อยรูป ต่อมาท่านได้ไปเรียนวิปัสสนากับพระอาจารย์ที่วัดสมถะ จังหวัดชลบุรี ด้วยหลวงพ่อปาน เป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติธรรมวินัยเคร่งครัด กิจของสงฆ์หลวงพ่อปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน อีกประการหนึ่งคือนำ พระสงฆ์ออกบิณฑบาตทุก ๆ เช้า นอกจากเจ็บป่วยไป ไม่แล้วท่านปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน อีกประการหนึ่ง คือนำพระสงฆ์สวดมนต์เช้าเย็นที่หอสวดมนต์เป็นประจำทุกวัน และสวดมนต์เป็นคัมภีร์หรือผูกเป็นเล่มเป็นวัน ๆ ไป กระทั่งสวดปาฏิโมกข์ เหตุดังนี้ในสมัยนั้น พระลูกวัดของท่านจึงสวดมนต์เก่งมาก ด้านสาธารณประโยชน์ หลวงพ่อปาน เป็นผู้นำในการสร้างถนนจากคลองด่านไปบางเพรียง ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสไปวัดสว่างอารมณ์ ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสจรดคลองนางหงษ์ ถนนแต่ละสายปัจจุบันได้พัฒนาเป็นถนนถาวรและใช้สัญจร ไปมาจนถึงทุกวันนี้ ด้านความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของหลวงพ่อปาน นั้นเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปเป็นพระอาจารย์ ที่มีญาณแก่กล้าชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องรางของขลัง ของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากและสืบ เสาะหากันจนทุกวันนี้ ท่านคร่ำเคร่งทางวิปัสสนามากและ ธุดงค์อยู่เสมอ ด้วยคุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อที่ได้ประกอบขึ้นไว้ แต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ราษฎรในตำบลใกล้เคียง กระทั่งต่างอำเภอและต่างจังหวัดพากันเคารพนับถือและรำลึก ถึงหลวงพ่ออย่างไม่ เสื่อมคลาย ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ" หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 4 ทุ่ม 45 นาที เมื่อหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ท่านถึงมรณภาพไปแล้วจึงร่วมกันประกอบพิธีนมัสการรูปหล่อของหลวงพ่อปาน รูปหล่อดั้งเดิมของท่าน ปัจจุบัน อยู่ที่มณฑปวัดมงคลโคธาวาส อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พุทธคุณเขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน สุดยอดของเครื่องรางของขลัง เป็นที่ต้องการของหลายๆคนเพราะ เสือของท่านมีประสบการณ์ในทางมหาอำนาจ และคงกระพันชาตรียอดเยี่ยม หรือจะใช้ในทางเมตตามหานิยมค้าขายของก็ดีเยี่ยม เสือหลวงพ่อปาน เป็นภูมิปัญญาพระเกจิอาจารย์ไทยมาแต่โบราณกาล อันดับหนึ่ง คือ "เสือ" หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ เรื่องราวของท่านมีปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ ใน รัชกาลที่ ๕ ว่า...หลวงพ่อปาน ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย "เสือ" โดยถวายพระพรว่า ที่แกะเป็นรูป "เสือ" ก็เพราะเสือเป็น*ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะและอำนาจ สามารถใช้ตาสะกด*อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ การที่ทำเครื่องรางรูป "เสือ" มิใช่จะสนับสนุนให้คนเป็นโจรผู้ร้าย เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะเด่นของเสือจริงในป่ามาเป็นตัวอย่างเท่านั้น...ล้น เกล้าฯ ร.๕ ได้ฟังก็ทรงพอพระราชหฤทัยมาก จึงพระราชทานผ้าไตร ผ้ากราบแก่ หลวงพ่อปาน และต่อมาได้พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ และด้วยความอัศจรรย์ของเสือหลวงพ่อปานแห่งวัดคลองด่าน(วัดบางเหี้ย) นี้จนล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ถึงกับได้ลงบันทึกเรื่องราวไว้อย่างเป็นทางการใน ร.ศ.๑๒๗ หรือ พ.ศ. ๒๔๕๑ ว่า “เสือนั้นกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบากเหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวน ให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่ในป่าช้า ที่พระบาทก็หนีขึ้นไปอยู่เสียบนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามขึ้นไปกวน ไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ประโยชน์ ในการทำอะไรๆ ขาย มีแกะรูปเสือเป็นต้น ถ้าปกติตัวละ ๓ บาท ๖ บาทก็มี…” สาเหตุหนึ่งที่เสือท่านมีชื่อเสียงมากก็อาจเป็นได้ว่า วงการพระเครื่องและเครื่องรางของไทยยกให้เครื่องรางชนิดนี้เป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคีเครื่องราง อันได้แก่ ปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ เสือหลวงพ่อปาน หนุมานหลวงพ่อสุ่น วัวปั้นหุ่น หลวงพ่อน้อยวัดศีรษะทอง เบี้ยแก้กันของวัดนายโรง |
|||||||||||||||
ราคา
|
โทรสอบถามราคา | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0884990556 | |||||||||||||||
ID LINE
|
Jack_9456 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
6,439 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกสิกรไทย / 796-2-14371-1
|
|||||||||||||||
|